กระบวนการจัดการความรู้ KM 7 ขั้นตอน

ขั้นตอนกระบวนการการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน


1. การกำหนดเป้าหมายความรู้ (Knowledge Desired)
      กำหนดการเรียนรู้ ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร สร้างและใช้ความรู้ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ร่วมกัน และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ ส่วนในแง่ของบุคคลในหน่วยงาน เช่น ถ้าเป็นหน่วยงานรัฐก็จะเป็นบุคลากรในองค์กร เป็นบุคคลเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้จากผู้อื่น ซึ่งอาจจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือผู้ใช้บริการ

2. การสร้าง/การแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation/Knowledge Acquisition)
      เป็นการเลือกหารวบรวมข้อมูลและความรู้ของ Data Warehouse และ Intelligent Agent เพื่อที่จะศึกษา ค้นคว้าและทำความเข้าใจเกี่ยวกับทั้งสองเรื่องเพื่อที่จะพิจารณาและกลั่นกรองในขั้นตอนต่อไป

3. การกลั่นกรองและคัดเลือกความรู้ (Knowledge Classified)
      เป็นขั้นตอนการพิจารณาและวิเคราะห์จากขั้นตอนการสร้างและแสวงหาความรู้ โดยการนำเอาข้อมูล และความรู้ที่ได้รวบรวมจากเรื่อง Data Warehouse และ Intelligent Agent มากลั่นกรองและคัดเลือกความรู้  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยและให้เหมาะสมกับการใช้งานของบุคคลภายในองค์กร

4. การจัดเก็บความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Saving System)
      หลังจากที่นำข้อมูลของ Data Warehouse และ Intelligent Agent มากลั่นกรองและคัดเลือกความรู้ เพียงพอแล้ว จะนำข้อมูลที่ถูกกลั่นกรองแล้วมาจัดเก็บเป็นหมวดหมู่ รูปแบบต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือเว็บบล็อก

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)
      เป็นการจัดการช่องทางเผยแพร่ความรู้ ผ่านเครื่องมือเว็บบล็อก โดยใช้ Blogspot เพื่อให้บุคคล ภายในองค์กร สามารถเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับ Data Warehouse และ Intelligent Agent ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง

6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing)
       เป็นการให้บุคคลภายในองค์กรได้มีการหาความรู้ในเรื่องของ Data Warehouse และ Intelligent Agent ที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น เพื่อนำข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด มาถกเถียงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ เพื่อให้ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ครบถ้วน และมีการปรับปรุงอยู่เสมอ

7. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)
     หลังจากที่ได้ความรู้ที่ถูกต้องและสมบูรณ์แล้ว จะนำเอาความรู้ที่ได้นั้นมาเผยแพร่ ผ่านเครื่องมือเว็บบล็อกโดยใช้เครื่องมือที่ชื่อว่า “Blogspot” 

ความคิดเห็น